HomeThailandฟาสต์แฟชั่น ปรากฏการณ์ใหม่ ทำลายโลก

ฟาสต์แฟชั่น ปรากฏการณ์ใหม่ ทำลายโลก

แค่ชอบเอฟเสื้อผ้า แต่รู้หรือไม่ว่าเรากำลังร่วมทำลายโลก? เพราะการช็อปปิงที่เกินความพอดี สูบทรัพยากรของโลกมหาศาล สุดท้ายเสื้อผ้าที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ก็ยังกลายเป็นภูเขาขยะที่ไร้ค่า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมวนไป

บทความนี้จะชวนทำความเข้าใจว่าทำไมเราควรพิจารณาใหม่ในการจะซื้อเสื้อผ้าแต่ละครั้ง แล้วจะมีวิธีอย่างไรบ้างที่ทำให้สายช็อปสายแฟยังคงอินเทรนด์แบบคนก็สวยโลกก็สวยด้วย ผ่านเนื้อหาในนิทรรศการ “ช็อปล้างโลก”ที่จัดแสดงอยู่ในมิวเซียมสยามเวลานี้ พร้อมคุยกับ พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

“Fast Fashion หรือ แฟชั่นจานด่วน คือการผลิตในปริมาณมาก ในเวลาอันรวดเร็ว และขายในราคาถูก สามารถออกแบบ ตัดเย็บ และวางขายได้ในอาทิตย์เดียว แม้จะสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่กระบวนการนี้ถูกตีตราว่าเป็นตัวทำลายล้างโลก เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 8”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

ซื้อเสื้อผ้าเพียง 1 ตัว ก็สะเทือนถึงชั้นบรรยากาศ

พาฉัตร ทิพทัส ให้ข้อมูลว่า คนหนุ่มสาวซื้อเสื้อผ้าใหม่เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของเสื้อผ้าที่มีอยู่เดิม ปริมาณการสั่งซื้อเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้น 60% เนื่องจากการขยายตัวของชนชั้นกลาง โดยเฉพาะที่ประเทศจีน และอินเดีย ทำให้ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 90 ล้านล้านบาทต่อปี แต่กลับพบว่ามีการสูญเสียมูลค่าทางการเงินถึง 175 หมื่นล้านบาท จากการผลิตเสื้อผ้าออกมาแล้วไม่ถูกใช้งาน ไม่ว่าจะขายออกหรือไม่ หรือแม้แต่ขายได้ก็อาจจะซื้อแล้วไม่ได้ใส่

ถ้าปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ต้องใช้เวลาร่วมร้อยปี ทางที่มักใช้ในการกำจัดคือฝังกลบ ทั่วโลกพบเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว 73% ส่งไปยังหลุมฝังกลบ หรือเผาเป็นพลังงานนับเป็นจำนวนมากถึง 10 ล้านตันในแต่ละปี (เทียบเท่าขวดพลาสติด 5 หมื่นล้านขวด) ซึ่งประเทศด้อยพัฒนาต่าง ๆ มักกลายเป็นสถานที่สำหรับการทิ้งขยะเสื้อผ้าของโลก เช่น ประเทศเฮติ ในทวีปแอฟริกา ส่วนที่เป็นตำนานเล่าขานคือทะเลทรายอาตากามา (atacama) หนึ่งในทะเลที่แห้งแล้งที่สุดในโลก อยู่ที่ประเทศชิลี ทวีปอเมริกาใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือภูเขาเสื้อผ้าจำนวนมหาศาลไกลสุดลูกหูลูกตา แม้แต่เสื้อผ้าที่ผลิตในโรงงานจีน หรือบังกลาเทศ ที่ขายไม่ออก ตกรุ่นยังถูกขนส่งมาทิ้งที่ประเทศชิลี ตกราว ๆ ปีละ 5.9 หมื่นตัน

“สิ่งทอ 1 กิโลกรัม ถ้านับตั้งแต่กระบวนการผลิตจนทิ้งเป็นขยะ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 20 กิโลกรัมคาร์บอน ทำให้ถ้านับรวมทั้งอุตสาหกรรมเสื้อผ้าจะเท่ากับว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3.3 พันล้านตันต่อปี สูงเท่ากับอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทวีปยุโรปทั้งทวีปในแต่ละปี หรือเทียบเท่ากับการปล่อยการขับรถยนต์ 372 ล้านคัน ใน 1 ปี และมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเที่ยวบินระหว่างประเทศ และการขนส่งทางเรือรวมกัน ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากแบบนี้นเท่ากับเป็นการซ้ำเติมปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

ฟาสต์แฟชั่น เน้นผลิตไว ไม่สนอะไรทั้งนั้น

ธุรกิจเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นคำนึงถึงกำไรเป็นหลัก แต่ละแบรนด์ต่างแข่งขันกดต้นทุนให้ต่ำ เลือกใช้วัตถุดิบราคาถูก จ้างแรงงานราคาถูก เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาถูก แม้ว่าสินค้าจะคุณภาพแย่ก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการคือ ให้เป็นสินค้าซื้อง่ายยอดขายพุ่ง ด้วยราคาที่ถูกนี่เอง กระตุ้นให้ผู้บริโภคกระหายที่จะซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้สึกเสียดายเงิน และไม่เสียดายหากจะต้องทิ้งเสื้อผ้าชุดเก่าไปแม้จะใส่ไม่กี่ครั้ง หรือไม่เคยใส่เลยก็ตาม

สำหรับฐานการผลิตฟาสต์แฟชั่นมักจะอยู่ในพื้นที่ประเทศด้อยการพัฒนา เนื่องจากสามารถจ้างแรงงานราคาถูกได้ เพื่อลดต้นทุนของสินค้า นอกจากนี้ยังพบว่าในบางกรณีแรงงานถูกกดราคาค่าจ้างให้น้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำด้วยซ้ำเป็นการกดขี่ และคุณภาพชีวิตของแรงงานในโรงงานก็ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือจะเรียกว่า โรงงานนรกก็ได้

“ปัจจุบันไทยมีบริษัทด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ มากกว่า 2,000 บริษัท มีคนงานรวมกว่า 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ไร้สวัสดิการทางสังคม บ้างเป็นแรงงานต่างด้าว ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทย โดยโรงงานมักตั้งขึ้นที่แนวชายแดน เพื่อให้แรงงานต่างด้าวข้ามมาทำงานได้ ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 2520-2530 เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเติบโตมาก แต่พอมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำให้ฐานการผลิตย้ายไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านแทน”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

ทรัพยากรมหาศาลถูกใช้เพื่อการผลิตเสื้อผ้า

เสื้อผ้าทั่วไปในท้องตลาด 26% ผลิตจากฝ้าย 63% ผลิตจากโพลีเอสเตอร์ และ 1% เป็นวัสดุอื่น ๆ อย่างไรก็ตามพบว่า กระบวนการผลิตเสื้อผ้าหรือสิ่งทอ ใช้ทรัพยากรของโลกจำนวนมาก สำหรับเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุจากต้นฝ้ายแม้เป็นเส้นใยธรรมชาติแต่การปลูกแบบไม่ธรรมชาติก็ทำให้เกิดการสูบน้ำไปใช้จำนวนมาก โดยพบว่าทุ่งฝ้ายทั่วโลกซดน้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือเท่ากับปริมาณน้ำ 57% ของน้ำที่ใช้ในการเกษตรทั่วโลก หรือน้ำดื่มที่คน 5 ล้านคนใช้ดื่มใน 1 ปี แค่เพียงเสื้อยืดตัวเดียวยังต้องใช้น้ำมากถึง 2,700 ลิตร หากไม่รอน้ำฝนธรรมชาติ ก็ต้องไปสูบน้ำมารดต้นฝ้ายให้เติบโต โดยพบว่าทะเลสาบใหญ่อย่าง ‘อารัล’ ในแถบเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศคาซัคสถาน และอุซเบกิสถาน แห้งผากเพราะว่าถูกซูบไปรดต้นฝ้ายหมด

“ฝ้ายที่ใช้ผลิตเสื้อยืด 1 ตัว จะใช้น้ำในการปลูกมากถึง 2,700 ลิตร คือปริมาณน้ำในขวด 600 มิลลิลิตร จำนวน 4,500 ขวด เป็นปริมาณน้ำที่เราใช้ดื่มได้ถึง 1,350 วัน หรือ 3 ปี 8 เดือน แต่นั่นคือปริมาณน้ำที่ใช้ปลูกต้นฝ้ายสำหรับผลิตเสื้อยืดเพียง 1 ตัวเท่านั้น”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

หากประเมินกระบวนการผลิตเสื้อเชิ้ตผ้าฝ้าย 1 ตัว ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้ายไปจนถึงการตัดเย็บ สามารถวัดคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งสิ้น 4.3 กิโลกรัมคาร์บอน ในขณะที่เสื้อเชิ้ตผ้าโพลีเอสเตอร์ 1 ตัว มีรอยเท้าคาร์บอน 5.5 กิโลกรัมคาร์บอน เสื้อผ้าฝ้าย ปล่อยคาร์บอนประมาณ 2 กิโลกรัมคาร์บอน ส่วนชุดเดรสผ้าโพลีเอสเตอร์ ปล่อยคาร์บอนประมาณ 17 กิโลกรัมคาร์บอน แม้ว่าเสื้อผ้าจากโพลีเอสเตอร์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเส้นใยโพลีเอสเตอร์อยู่มาก แต่ฝ้ายหิวน้ำและสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำทั่วโลก

ใส่สบายแต่กลายเป็นไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ

สำหรับเสื้อผ้าและสิ่งทอที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (เส้นใยพลาสติกทำจากน้ำมันปิโตรเลียม) เส้นใยประเภทนี้มีความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ไม่ยับง่าย ทำความสะอาดง่าย ราคาถูก แต่มีคุณภาพต่ำใช้ไม่กี่ครั้งก็เปื่อย เมื่อซักด้วยเครื่อง เกิดแรงเหวี่ยง แรงบิด แรงกระแทกที่รุนแรง จะทำให้ไมโครไฟเบอร์หลุดออกมาจากเสื้อผ้าลอยมากับน้ำทิ้ง เล็ดลอดสู่แหล่งน้ำและท้องทะล หากซักเสื้อผ้าในถังขนาด 7 กิโลกรัม จะปล่อยไมโครไฟเบอร์มากถึง 31.5 ล้านชิ้น ขนาดเล็กกว่า 500 ไมครอน บางกว่าเส้นผม และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้งยังไม่ย่อยสลายในน้ำด้วย

“เมื่อถูกปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เส้นใยไมโครพลาสติกเหล่านี้จะดูดซับสารพิษที่อยู่ในระบบระบายน้ำ เช่น ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง กลายเป็นอาหารของแพลงก์ตอน สู่กุ้ง ปลา จนถึงวาฬ ในที่สุดก็วนกลับมาสู่ผู้บริโภคอาหารทะเล มีการประเมินว่า 1 ใน 4 หรือ 25% ของอาหารทะเลที่เรากินล้วนมีไมโครพลาสติกผสมอยู่”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

ทางเลือกแฟชั่นยั่งยืน

พาฉัตร ยกตัวอย่างว่า แฟชั่นเพื่อความยั่งยืนมีหลายแนวทาง เช่น การอุดหนุนเสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ลินิน กัญชง หรือฝ้าย ที่มีกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ เช่น ใช้น้ำฝน ใช้กระบวนการทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ เพื่อลดสาเหตุของการเกิดน้ำเสีย และสารตกค้างในธรรมชาติ

“ไม่ใช่ว่าคุณต้องปฏิบัติธรรมะหรือไม่ซื้ออะไรเลย เราออกแบบการนำเสนอออกมาเป็นเหมือนวินโดว์ของร้านเสื้อผ้าในห้าง นำเสนอเนื้อหาของการสนับสนุนแฟชั่นยั่งยืน เช่น การ ReWEAR&RePAIR ReUsed UpCycle ReSell ReCycle โดยแบ่งเนื้อหานำเสนอเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามวินโดว์ เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรเดิมให้เต็มศักยภาพ สร้างกระแสการใช้เสื้อผ้าซ้ำจนหมดอายุขัยของเสื้อผ้า หรือหากเสื้อผ้าผุพัง ก็นำมาซ่อมแซมใหม่ ออกแบบทำใหม่ให้เหมือนใหม่ ซึ่งป้า ๆ ลุง ๆ ที่รับซ่อมแซมเสื้อผ้าจริง ๆ ก็คือหน่วยปฏิบัติการซ่อมโลก เราก็จำลองการทำงานของเขามานำเสนอเพื่อชวนสังคมให้นึกถึงคนสำคัญกลุ่มนี้”

หรือองค์กรบริจาคเสื้อผ้าสิ่งทอเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การรับบริจาคเสื้อผ้าสภาพดีของมูลนิธิกระจกเงา เพื่อขายต่อเป็นการระดมทุนช่วยเหลือผู้ยากไร้ หรือนำไปให้ผู้ที่ต้องการได้ใช้งานต่อ การส่งเสริมตลาดเสื้อผ้ามือสอง ทำให้เห็นว่าการใช้ของมือสองไม่ใช่สิ่งที่น่าอาย เพราะการยืดอายุขัยของเสื้อผ้าลดการใช้น้ำในการผลิตเสื้อผ้าได้ถึง 65 ลดรอยเท้าคาร์บอน หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เกือบ 7 เท่า ซึ่งปัจจุบันร้านเสื้อผ้ามือสองมีทั้งในออนไซด์และในออนไลน์ เช่น ตลาดโรงเกลือ ร้านปันกัน เอ็ฟออนไลน์ looper.shop

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างของธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการทำเสื้อผ้ามาผลิตเป็นของใหม่ เช่น มูลนิธิโอกาสที่สองแห่งชีวิต ที่มีการ upcycle สินค้าใหม่โดยชุมชนคลองเตย แบรนด์วิชชุลดาที่นำเครื่องแบบพนักงานธนาคารมาทำเป็นกระเป๋าที่มีเอกลักษณ์ใหม่ เพื่อคืนชีวิตใหม่ให้กับเสื้อผ้าสิ่งทอแฟชั่น แม้แต่บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอหลายแห่งก็เริ่มคิดเรื่องการนำเศษผ้า หรือม้วนด้ายเหลือทิ้งมาผลิตเป็นสิ่งใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเรื่องราวของการรักษ์โลกบางทีเสื้อผ้าที่ผลิตใหม่ด้วยนวัตกรรมเพื่อลดการใช้ทรัพยากรของโลกจะมีราคาสูงบ้าง แต่ว่าก็เป็นทางเลือกของผู้ที่มีทุนทรัพย์ และอยากจะมีส่วนในการสนับสนุนแฟชั่นยั่งยืน

“อย่างไรก็ตามในส่วนสุดท้ายของนิทรรศการ เรามีแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ว่าเมื่อได้รับชมแล้วมีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองอย่างไรบ้าง อาจจะไม่ถึงกับการตัดสินใจว่าจะเลิกซื้อเสื้อผ้าแล้ว แต่เพียงแค่ว่าจากที่เคยซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ทุกสัปดาห์ก็อาจจะนึกถึงทางเลือกอื่นบ้าง เช่น ไปซื้อเสื้อผ้ามือสองดีไหม หรือดูไปดูมาของเก่าก็ยังมีมากและยังใส่ได้อยู่ แม้จะเป็นการเปลี่ยนทิศทางเล็ก ๆ แต่สำหรับความร่วมมือของทุกคนในสังคมก็จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของสังคมได้”

พาฉัตร ทิพทัส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม

 

Nguồn: [ThaiPBS], [https://theactive.thaipbs.or.th/read/fast-fashion]

- A word from our sponsors -

spot_img

Most Popular

More from Author

Women Leader Forums 2025: The birth of leadership icons of the new era

Women Leader Forums 2025 was more than just a platform to...

Icons on the lips: Classical lipstick lines writing the history of beauty

Fashion changes with the seasons, trends come and go, but lipstick...

Dandy Style: Elegant whisper amid the symphony of time

At the moment when the Met Gala 2025 lit up the...

- A word from our sponsors -

spot_img

Read Now

Women Leader Forums 2025: The birth of leadership icons of the new era

Women Leader Forums 2025 was more than just a platform to honor women; it marked a milestone in redefining the role of women in shaping social value. There, beauty was no longer a destination but the starting point for a generation of leaders guided by intelligence, inner...

Icons on the lips: Classical lipstick lines writing the history of beauty

Fashion changes with the seasons, trends come and go, but lipstick remains the one timeless icon in the hearts of beauty lovers. More than just a cosmetic, it’s a daily essential for women — a voice, a statement, an extension of identity. Amidst countless dazzling choices, some...

Dandy Style: Elegant whisper amid the symphony of time

At the moment when the Met Gala 2025 lit up the New York sky with a myriad of creative colors, a quiet breeze of classic elegance made its way onto the red carpet: Dandy Style – the fashion of refined gentlemen – returned like a deep, mellow...

16-year-old racetrack heartthrob: Nguyen Hoai Nam Anh and the beauty of courage, discipline and passion

At 16, when many of his peers are still engrossed in social media or online games, Nguyen Hoai Nam Anh – a boy with a movie-star look, a healthy physique, and eyes full of strength – stunned the Southeast Asian sports community by securing a spot in...

Regina Angarita – Leadership mindset in the new era of beauty queens

Regarded as a symbol of the fusion between beauty, intellect, and national strength, Regina Angarita – the reigning Miss Planet Colombia – is at the forefront of a new generation of beauty queens, defined by global thinking, practical action, and sustainable development strategies. From diplomatic initiatives to...

Shashwat Dwivedi – International spirit imbued with Eastern identity

In a world where the stage lights often shine too bright and words sometimes echo without lasting resonance, Shashwat Dwivedi emerges like a different kind of melody—measured, composed, yet profoundly powerful. In him, one senses a quiet radiance that needs no performance, for it stems from self-awareness...

NovaWorld Fashion Fest 2025: Seaside runway taking fashion close to nature

On the evening of May 2, 2025, NovaWorld Phan Thiet held a show as part of the NovaWorld Fashion Fest 2025 at Bikini Beach. The program gathered over 100 models, beauty queens, kings, and famous artists such as Dong Nhi, Hoang Thuy, Lam Khanh Chi or Nhu...

Do Thi Mai Anh: Youth identity amid the new era

Not only standing out with her bright stage presence and impressive achievements, Do Thi Mai Anh is making her mark as a modern children's role model who connects tradition and creativity. Her becoming the Global Ambassador of Global Junior Fashion Week 2025 is not just a personal...

Unsung makeup crew behind the success of “Tinh Hoa Kinh Bac”

Silently behind the spotlight of the recent “Tinh hoa Kinh Bac” (Essence of Kinh Bac) show was the talented hand of the makeup team led by Makeup Artist Wendy Nguyen (Nguyen Thi Thanh Thu) – the quiet force contributing to perfecting the appearance of the performers, bringing...

Hand-woven heritage: Resurrection of handicraft in the digital era

In today's industrialized and automated world, handmade woven products have sparked a strong movement. Not only do they preserve long-standing cultural values, but handwoven heritage has also become a symbol of creativity and rebirth in the digital age. This revival not only reflects the search for original...

“Ve Nha Ut Oi” – When fashion reaches the Southern rural souls

Amid the hustle and bustle of urban life, there is a place that quietly preserves the scent of memories – that is the Southern Folk Cake Festival. And among the crowd heading to Can Tho this April, designer Nguyen Minh Cong and Miss Kieu Duy are like...

Let your brain “survive” in the ocean of knowledge

In this era of information explosion, knowledge floods in like a rising tide, and not everyone has the stamina to swim through this vast ocean without growing weary. As the volume of knowledge continues to mount, the key is not merely to learn more, but to learn...